การงาน ของ ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน)

เปิดร้านขายของชำบนถนนถลาง ชื่อร้าน “สุ่ยหิ้นจั่ง” เป็นตึกสไตล์ชิโน-โปรตุกีส (ปัจจุบันได้มีการบูรณะทำเป็นเกสท์เฮาส์ “ถลาง เกสท์เฮ้าส์”)[3] และการค้าส่งออกหอม กระเทียม พริกไทย ระหว่างภูเก็ต ตรังและปีนัง

ในปี พ.ศ. 2458 ได้สร้างบ้านสองชั้นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังคามุมกระเบื้องดินเผา ต่อมาจึงสร้างอาคารด้านหลังเพิ่มเติม ซึ่งกลายเป็น “บ้านทองตัน[4] ในเวลาต่อมา อยู่ตรงหัวมุมถนนดีบุกกับถนนเทพกระษัตรี (ถูกจัดเป็นหนึ่งในอังมอเหลา จังหวัดภูเก็ต ที่มีสถาปัตยกรรมแนวยุโรป) [5]

จากนั้นก็เริ่มทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ที่เหมืองป้อซ่าง (บริเวณถนนเจ้าฟ้า ตรงกันข้ามกับโรงเรียนดาวรุ่งวิทยา ในปัจจุบัน) และกิจการห้องเช่า ห้องแถว แถวบางเหนียว ถนนภูเก็ต แถวน้ำ แถวถนนรัษฎา และถนนถลาง รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 300 หลัง

นอกจากนี้ยังได้สร้างสถานบันเทิง คือ โรงงิ้ว หรือโรงละคร ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ชื่อ “เฉลิมตัน” ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อโรงภาพยนตร์สยาม[6] แล้วได้เลิกกิจการเปลี่ยนเป็นสถานออกกำลังกาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน) http://phuketbulletin.co.th/hotel/view.phpid4/ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/... http://oknation.nationtv.tv http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2016/11... https://anyflip.com/bqohw/afgv/basic https://www.museumthailand.com/th/4274/storytellin... https://live.phuketindex.com/th/jeng-ong-shrine-ph... https://pubhtml5.com/dcyt/qaer/basic/51-100 https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/7-a... https://bambelle.wordpress.com/2009/09/07/%E0%B9%8...